วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2552

ประวัติการนวดกดจุดสะท้อนเท้า

วิลเลี่ยม ฟิตช์เจอราลด์ (1872 – 1942) แพทย์ชาวอเมริกัน จัดทำรูปหล่อเท้าแสดงถึง สายสัมพันธ์ต่าง ๆ อันเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในปัจจุบันนี้
ดร.ฟิตช์เจอราลด์เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน หู คอ จมูก ในผลงานและคำบรรยาย ของเขา สนับสนุนแนวทางการรักษาที่ใช้กันในประเทศจีน อินเดีย และหมู่ชนเผ่าอินเดียแดง เมื่อห้าพันปีก่อน ในเวลานั้นพวกเขาเรียนรู้ว่า จุดใดบ้างบนเท้าที่สามารถนวดเฟ้น เพื่อผ่อนคลายอาการเจ็บปวดในร่างกายได้ กรรมวิธีเหล่านี้เป็นที่รู้จักในยุโรป เมื่อราวศตวรรษที่ 16
ราวต้นศตวรรษนี้ ดร.เอ็ดวิน อี.โบเวอร์ และดร.ฟิตช์เจอราลด์ร่วมกับเขียนหนังสือ “กายภาพบำบัด” ยูนิช อิงแฮมหมอนวดหญิง ผู้มาจากสหรัฐอเมริกาเช่นกัน ยอมรับในความสมบูรณ์ของเทคนิคการนวด และนำมาขจัดความเข้าใจผิดที่เธอเคยกระทำมา ยามนวดเท้าเพื่อต้องการผลสืบเนื่องไปยังอวัยวะภายใน แฮมเน มาร์คาร์ท จากเยอรมันนี ซึ่งมาร่วมงานกับยูนิช อิงแฮม ในปี 1967 ได้ประกาศผลงานสำคัญอันมีชื่อเสียงโดดเด่น หนังสือของเธอชื่อว่า “การนวดเท้าเปรียบเสมือนการบำบัดสุขภาพ” ข้อเขียนของเธอได้รับการต้อนรับอย่างกว้างขวาง ถือเป็นทางเลือกหนึ่งของแพทย์
ล่าสุดโดรีน อี. บายเลย์จากอังกฤษ ได้รับคำชมเชยมากมายจากหนังสือของเธอ “วิชาว่าด้วยปฏิกิริยาในยุคปัจจุบัน” นับเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยมมาก สำหรับผู้ที่อยากศึกษาเรียนรู้วิชานี้ (แอสตริค ไอ.กูชมัน – เลคเจอร์ , 2537)
วิชาการนวดเท้าเพื่อการบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วย มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีภาพเขียน ฝาผนังเกี่ยวกับการนวดเท้า ปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ในปิรามิดของอียิปต์โบราณ และที่อินเดียยังมีรอยพระพุทธบาท ที่จารึกภาพแสดงการนวดฝ่าเท้า
ที่ประเทศจีน ต้นตำรับตำราแพทย์จีน “หวางตี้เน่ยจิง” ซึ่งประพันธ์ขึ้นเมื่อประมาณ ห้าพันปีก่อน ได้กล่าวถึงการนวดเท้า โดยใช้คำว่า “กวานจื่อฝ่า” แปลตรงตัวว่า “วิธีสังเกตเท้า” สมัยราชวงศ์ถัง “จู้ซินเต้า” หรือ “เส้นทางฝ่าเท้า” นี้ได้เผยแพร่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นพร้อมกับ วิชาฝังเข็ม และเป็นที่สืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
แต่ในประเทศจีน ด้วยเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์นานาประการและความเห็นแก่ตัว ของผู้รู้ จึงทำให้วิชากดนวดเท้าค่อย ๆ สูญหายไปจากประวัติการแพทย์ของจีน

เมื่อปี ค.ศ.1913 ดร.วิลเลี่ยม ฟิตช์เจอราลด์ (Dr. William Fitzgerald) นายแพทย์ชาวอเมริกันได้ใช้วิธีการแพทย์แผนปัจจุบัน ทำการค้นคว้าปรับปรุงทฤษฎีเกี่ยวกับ “การรักษาตามโซน” (Zone Therapy) แล้วทำการเผยแพร่ในวงการแพทย์ วิชานี้จึงค่อย ๆ ได้รับความสนใจ และเป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ตะวันตก
เมื่อปี ค.ศ.1935 พยาบาลหญิงชาวสวิตเซอร์แลนด์ Hedi Masatret ซึ่งทำงานในเขตเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในประเทศจีนเป็นเวลานาน ได้ศึกษาและเรียนรู้วิชากดนวดเท้านี้ หลังจากกลับประเทศ ได้ประพันธ์ตำราเกี่ยวกับการกดนวดเขตสะท้อนที่เท้าเป็นภาษาเยอรมันชื่อ Gesund in die Zukunft (ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษชื่อ Good Health for the future) ทำการเผยแพร่พร้อมทั้งจัดให้มีการฝึกอบรมเป็นรุ่น ๆ เป็นผลให้วิธีการรักษาสุขภาพแบบนี้เผยแพร่เข้าสู่กลุ่มประเทศตะวันตก เช่น อังกฤษ เยอรมัน ฮอลแลนด์ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เป็นต้น
ต่อมาในปี ค.ศ.1977 โรคไขข้ออักเสบที่เกิดขึ้นกับบาทหลวงชาวสวิตเซอร์แลนด์ Fr. Josef Eugster (มีชื่อภาจีนว่า นายเอี๊ยกเจี๊ยะ แซ่โง้ว) มาหลายปี กลับหายอย่างง่าย ๆ ด้วยการกดนวดจุดที่เท้าแค่ 3 ครั้ง เป็นผลให้บาทหลวงท่านนี้สนใจและตั้งใจวิชานี้ หลังสำเร็จการศึกษาอย่างเป็นระบบแล้ว ก็ได้ตระเวนไปยังประเทศต่าง ๆ ทำการเผยแพร่ และช่วยเหลือ ผู้เจ็บป่วยและด้วยจิตปณิธานที่ว่า “จะขอคืนมรดกของชาติจีนให้แก่ชาวจีนทุกคน” บาทหลวงผู้นี้จึงได้ร่วมกับวงการแพทย์แผนจีนที่ไต้หวัน โดยมีท่านเฉินเม่าสงและบุคคลอื่น ๆ จัดตั้ง “สถาบันวิจัยเพื่อสุขภาพแบบเยี๊ยกเจี๊ยะนานาชาติ” ขึ้นเมื่อเดือนเมษายน ปี ค.ศ.1982 เพื่อการอบรมเผยแพร่ ค้นคว้าพัฒนา และรับใช้สังคม ปัจจุบันสถาบันฯ ได้จัดตั้งสาขา อยู่ตามประเทศต่าง ๆ รวมสี่สิบกว่าประเทศ และเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ.2000 ได้ประกาศจัดตั้งสาขาในประเทศไทยขึ้นอย่างเป็นทางการที่จังหวัดชลบุรี (สุเชาว์,2543)
การนวดฝ่าเท้า เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของจีน มีมาแต่โบราณและเก่าแก่มากกว่า 5 พันปี ตั้งแต่องค์จักรพรรดิหวงตี้ปกครองแผ่นดินจีน และมีบันทึกไว้ในหนังสือวังต้องห้ามของยุคนั้น
ในราชวงศ์ฮั่น (ประมาณ 2 พันกว่าปี นับย้อนจากปัจจุบัน) การแพทย์ของจีนรุ่งเรืองมาก ได้มีการบันทึกเกี่ยวกับฝ่าเท้าไว้มากมาย และเป็นที่นิยมกันมาก เพราะบรรเทาโรคภัยได้ง่าย ประหยัดและรวดเร็ว ชนทุกหมู่เหล่าสามารถรักษาได้ โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ
เมื่อถึงราชวงศ์ถัง การแพทย์ของจีนได้มีการพัฒนาการรักษา โดยวิธีการแทงเข็มและรมยา แทนการนวดรักษา ต่อมาความรู้แขนงนี้ก็ได้เข้าไปเผยแพร่ในประเทศญี่ปุ่นและในราชวงศ์หยวน ก็มีการแต่งตำราเกี่ยวกับเรื่องฝ่าเท้าไว้ถึง 14 เล่ม การแพทย์ของจีนก็เจริญสืบทอดกันมา
จนกระทั่งมาถึงราชวงศ์แมนจู ช่วงปลายราชวงศ์ได้มีประเทศมหาอำนาจเข้าปกครองประเทศ วิชาการแพทย์ของจีนส่วนหนึ่งจึงหลั่งไหลสู่ต่างแดน แต่ก็มีผู้รอบรู้บางคน มีความเห็นแก่ตัวไม่ยอมบันทึกหรือถ่ายทอดให้แก่ใคร วิชาการแพทย์ของจีนซึ่งรวมถึง การกดจุดฝ่าเท้าจึงค่อย ๆ สูญหายไปจากประวัติศาสตร์ของจีน
ในปัจจุบันอาจารย์สมบูรณ์ รุ่งโรจน์สกุลพร ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นประธานมูลนิธิ พัฒนาศาสตร์การนวดกดจุดสะท้อนเท้า (ประเทศไทย) เป็นที่ปรึกษาสมาคมแพทย์แผนไทย แห่งประเทศไทย ที่ปรึกษาอนุกรรมการการพาณิชย์รัฐสภา ที่ปรึกษาเลขาธิการรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการพานิชย์ สภาผู้แทนราษฎร ที่ปรึกษามูลนิธิเพื่อพัฒนาการแพทย์ทางเลือก (ประเทศไทย) และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในศาสตร์ ของการนวดกดจุดสะท้อนเท้าในประเทศไทย ได้กล่าวถึงความเป็นมา ของการนวดกดจุดสะท้อนเท้าที่เข้ามาในประเทศไทย โดยเล่าว่า สืบเนื่องจากในปี พ.ศ.2531 ได้ไปศึกษาศาสตร์นี้จากประเทศมาเลเซีย (The Instute of Reflexology, Ipoh, Perak, Malaysia) แล้วนำกลับมายังประเทศไทยแล้วได้นำมาถ่ายทอดให้กับลูกศิษย์กว่าหมื่นคน โดยได้ศึกษา ค้นคว้า วิจัย เพิ่มเติมจากหลายสถาบัน จนในปัจจุบันได้เปิดเป็นโรงเรียนสอน ให้ความรู้กับบุคคลทั่วไปและผู้สนใจ และดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ มากมาย จนได้รับโล่เกียรติคุณอนุญาตให้ “เผยแพร่ศาสตร์การนวดกดจุดสะท้อนเท้าในประเทศไทย” จากสถาบัน Reflexology, Ipoh, Perak, Malaysia (พ.ศ. 2544) ได้รับมอบโล่เกียรติคุณ จากสถาบัน Reflexology, Ipoh, Perak, Malaysia (พ.ศ.2546) ในฐานะครูผู้เผยแพร่ศาสตร์ การนวดกดจุดสะท้อนเท้าแก่ศิษยานุศิษย์ทั่วประเทศ จำนวนไม่ต่ำกว่า 10,000 คน ได้รับมอบโล่เกียรติคุณในฐานะเป็น “ครูต้นแบบการกดจุดสะท้อนเท้าดีเด่น” จากกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย (พ.ศ. 2544) ได้รับมอบโล่เกียรติคุณในฐานะเป็นผู้พัฒนาศาสตร์การนวดกดจุดสะท้อนเท้าดีเด่น (พ.ศ. 2547) จากสมาคมเภสัชและอายุรเวชแผนโบราณ จังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ. 2547 อาจารย์สมบูรณ์ได้พบกับรองนายกสถาบันวิจัยเพื่อสุขภาพแบบเยี๊ยกเจี๊ยกนานาชาติ และได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านศาสตร์การนวดกดจุดสะท้อนเท้ายิ่งไปกว่านั้นยังได้รับคำชมจากรองนายกฯ ว่าสามารถบูรณาการศาสตร์เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้คนเข้าใจได้ง่ายขึ้นและอย่างมีมาตรฐาน ด้วยเหตุผลนี้เองท่านรองนายกฯจากประเทศไต้หวันจึงได้เสนอชื่ออาจารย์สมบูรณ์ และศาสตร์ของการนวดกดจุดสะท้อนเท้าของอาจารย์ให้เป็นสมาชิกลำดับที่ 58 ของสถาบันวิจัยเพื่อสุขภาพแบบเยี๊ยกเจี๊ยกนานาชาติ

2 ความคิดเห็น:

  1. เขียนประวัติมาดีกว่าเว็ปอื่น แต่น่าเสียดายตายตอนจบ ไม่ยอมเอ่ยชื่อผู่ที่นำการกดจุดฝ่าเท้าเข้ามาประเทศไทยคนแรก คื่อ ท่าน ฉี ซุย หง ประธานของ สถาบันวิจัยเพื่อสุขภาพแบบเยี๊ยกเจี๊ยะนานาชาติ แห่งประเทศไทย

    ตอบลบ
  2. อยากเรียนคะ ติดต่อได้ที่ใหนคะ

    ตอบลบ